การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องหลายองค์กรที่ร่วมกันประชุมหารือประสานงานระดมสมองแก้ปัญหา เพื่อเปิดมิติใหม่ให้กับระบบการขนส่งสินค้า อาทิ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ กรมศุลกากร การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันทำให้ระบบโลจิสติกส์เป็นรูปธรรม อย่างเช่น บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขนส่ง (Port – to – Door ) และ Door – to – Port ข้อตกลงเพิ่มประสิทธิภาพของขนส่งสินค้า และข้อตกลง การนำส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ด่วนถึงมือผู้รับส่วนยุทธศาสตร์ทางอากาศนั้
การแข่งขันในตลาดโลกนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆความรวมเร็ว และต้นทุนทีทถูกลงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะประเทศไทยมีต้นทุนการขนส่งสินค้าสูงถึง 25-30 % จึงต้องเร่งแก้ปัญหา นอกเหนือจากการร่วมมือกับประทรวงการคลัง เพื่อวางแผนในการกำหนดแผนพัฒนา โลจิสติกส์ ระดับประเทศแล้ว ส่วนของกระทรวงคมนาคมจะดูว่ามีศูนย์กระจายสินค้าคลังสินค้าที่รวบรวมสินค้าแล้วดูว่าจะส่งไปถึงปลายทางได้อย่างไร แต่เดิมเคยคิดว่าจะให้มีคลังสินค้า 4 มุมเมือง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ขณะนี้กำลังดูรูปแบบที่เหมาะสมแล้วจะนำมาผสมผสานกับการขนส่งในหลายรูปแบบ ทั้งทางรถยนต์ รถไฟ เรือ มาเชื่อมโยงกัน เพื่อให้สินค้าขนส่งได้เร็วที่สุดในราคาถูกที่สุด